บันทึกอนุทินครั้งที่4
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
วันอังคารที่ 13 เดือนมกราคม พ.ศ.2558
ครั้งที่ 1 กลุ่ม 103 ห้องเรียน 443
เวลาเรียน 14.10-16.40 น.
วันนี้อาจารย์ให้ทำกิจกรรมสเก็ตภาพดอกชบาให้เหมือนที่สุดก็ตามรูปเลยคร้าา
ดอกชบาของศิริ
แม่จะดูโดดเดี่ยว แต่ก็ยังรู้สึกสวยงาม
การเรียนการสอนในวันนี้
การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ ถ้าได้รับโอกาสในการ
เรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา
ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม(Integrated Education)
- การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป
- มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน
- ใช้เวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน
- ครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมกัน
ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)
- การศึกษาสำหรับทุกคน
- รับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา
- จัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
- ปฐมวัยเป็นช่วงที่สำคัญที่สุดของการเรียนรู้
- " สอนได้"
- เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดที่น้อยที่สุด
การศึกษาแบบเรียน เป็นการศึกษาสำหรับทุกคน
บทบาทของครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม
ครูไม่ควรวินิฉัย
- การวินิฉัยคือ การตัดสินใจโดยดูจากอาการ หรือสัญญาณบางอย่าง
- จากอาการที่แสดงออกนั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้
ครูไม่ควรตั้งใจชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
- เกิดผลเสียมากกว่าผลดี
- ชื่อเปรียบเสมอตราประทับตัวเด็กตลอดไป
- เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ
ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
- พ่อแม่ของเด็กพิเศษ มักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหา
- พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว
- ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความหวังในด้านบวก
ครูทำอะไรบ้าง
- ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ
- ให้ข้อแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสม
- สังเกตเด็กอย่างมีระบบ
- จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ
การบันทึกการสังเกต
- การนับอย่างง่ายๆ
- การบันทึกต่อเนื่อง
- การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป
- ควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน้อยของความบกพร่อง
- พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคนไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ
การตัดสินใจ
- ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง
- พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้น ไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่
การตรวจสอบ
- จะทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร
- เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น
- บอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ
ข้อควรระวังในการปฎิบัติ
- ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินในล่วงหน้าได้
- ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้
- พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฎให้เห็นเสมอไป
ประเมินตนเอง
- วันนี้ศิริตั้งใจเรียนมากค่ะ มีกิจกรรมให้ทำระหว่างคาบวันนี้เรียนสนุกจนเวลาผ่านไปไวมากไม่น่าเบื่อเลยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยย ^^ ช๊อบชอบ
ประเมินเพื่อน
- วันนี้เพื่อนๆทุกคนตั้งใจเรียนและไม่ค่อยคุยกันจนอาจารย์เบียร์ยังชมเลยว่าวันนี้น่ารักมากก
ประเมินอาจารย์
- วันนี้เรียนสนุกอาจารย์มีประสบการณ์ใหม่ๆที่ให้ความรู้กับนักศึกษามาเล่าให้ฟังเสมอ เนื้อหาการสอนเข้าใจง่ายและมีการทวนเนื้อหาที่เรียนไปเพื่อจะดูว่าเราจำได้หรือไม่ สนุกมากเลยวันนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น